วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ก็งั้นๆเรื่องกานอ่านtab กีต้า

คือผมจะมาเล่าเกี่ยวกับดนตรีอะคับบังเอนผมเรียนอยู่เดียวมาดูกันนะงับ.......

ทฤษฎีพื้นฐานที่จำเป็นมากในขั้นแรกนี้คือเรื่องของการไล่เสียงหรือบันไดเสียงหรือ scale นั่นเอง โดยการนำตัวโน๊ตต่าง ๆ มาไล่เรียงกันไป และสเกลพื้นฐานที่เราควรรู้จักคือ
1. Diatonic Scale ซึ่งเป็นการเรียงโน๊ตจากตัวหนึ่งตามชื่อไปจนครบ 8 ตัวซึ่งก็คือตัวเดียวกับตัวที่ 1 นั่นเองแต่สูงกว่า 1 octave หรือเรียกว่าคู่ 8 ซึ่งเป็นสเกลมาตรฐานซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสเกลเมเจอร์ และไมเนอร์ เป็นต้น ซึ่งจะมีความห่างของโน๊ตไม่สม่ำเสมอ เช่นบางคู่ห่างกันครึ่งเสียง บางคู่ห่างกัน 1 เสียง เป็นต้น ลองดูตัวอย่าง ของ C เมเจอร์สเกลและ A ไมเนอร์สเกลนะครับ


2. Whole Tone Scale เป็นสเกลหรือบันไดเสียงที่มีการไล่เสียงโดยให้โน๊ตแต่ละตัวมีความห่างกัน 1 เสียงเต็ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการนำเครื่องหมายชาร์ป และแฟล็ทมาใช้ในการบังคับให้โน๊ตมีความห่าง 1 เสียงเต็ม ถ้าเทียบบนคอกีตาร์คือคุณไล่สเกลโดยกดนิ้วข้ามช่องเว้นช่องไปเรื่อย ๆ (เนื่องจากครึ่งเสียง=1 ช่องเฟร็ต และ 2 ช่องเฟร็ต=1เสียงเต็ม) ลองดู C โฮลโทนสเกล นะครับ

3. Cromatic Scale คล้ายกับ whole tone scale แต่ช่วงห่างของเสียงของโน๊ตแต่ละตัวจะเป็นครึ่งเสียงแทน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการใช้เครื่องหมายชาร์ปและแฟล็ทในการควบคุมโน๊ตเช่นกัน หรือคือการไล่สเกลบนคอกีตาร์โดยการกดไล่ในทุก ๆ ช่องเฟร็ต ( 1 ช่องเฟร็ต=ครึ่งเสียง) ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างของ C โครมาติคสเกล

Mode
ผมจะอธิบายแบบง่าย ๆ เลยนะครับจะได้ไม่สับสน "โหมด" ในทางดนตรีก็คือการเรียงลำดับของโน๊ตในสเกลไดอะโทนิคใหม่ หรือพูดอีกทีคือ สเกลเดิมแต่เปลี่ยนโน๊ตที่ขึ้นต้นใหม่เช่นนำโน๊ตตัวที่ 2 ของสเกลมาเป็นตัวขึ้นต้นจากนั้นก็ไล่ต่อไปเป็น 3, 4, 5, 6, 7, 1และจบที่ 2 (ครบ 8 ตัวหรือ 1 octave) นี่คือ โหมดที่ 2 ต่อไปนำโน๊ตตัวที่ 3 มาขึ้นต้น แล้วไล่ใหม่เช่นเดิมเป็น ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 3 และตามด้วย 4, 5, 6, 7, 1, 2 และจบที่ 3 (ครบ 1 octave) ดังนั้นเราจะพบว่าเราสามารถสร้างโหมดได้ 7 โหมด ต่อไปเรามาดูชื่อของแต่ละโหมดดู ผมจะใช้ C เมเจอร์สเกลเป็นตัวอธิบายนะครับเพราะเป็นสเกลพื้นฐานที่ง่ายที่สุดและไม่มีเครื่องหมายชาร์ปหรือแฟล็ท (ศึกษารายละเอียดเรื่องสเกลเมเจอร์ได้ในเรื่อง major scale และ mode
ลักษณะของ Mode ต่าง ๆ
รายละเอียดของ Mode ต่าง ๆ

โหมดที่ 1 เรียกว่า "ไอโอเนียน" ก็คือเมเจอร์สเกลนั่นเอง คือ เริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวแรกของสเกล การใช้ก็จะเหมือนกับเมเจอร์สเกล
โหมดที่ 2 เรียกว่า "โดเรียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 2 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ D ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 3 เรียกว่า "ฟริเจียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 3 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ E ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 4 เรียกว่า "ลิเดียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 4 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ F ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 5 เรียกว่า "มิกโซลิเดียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 5 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ G ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 6 เรียกว่า "เอโอเลียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 6 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ A ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 7 เรียกว่า "โลเครียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 6 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ B ในสเกล C เมเจอร์ ตอนนี้คุณคงจะรู้จักกับ Mode มากขึ้นแล้วนะครับ แล้วต่อไปคุณจะเข้าใจมันมากขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ของ Mode และ Scale เอาล่ะครับต่อไปเราไปดูรายละเอียดในเรื่องของเมเจอร์สเกลและสเกลอื่น ๆ รวมทั้งโหมดของสเกลต่าง ๆ เหล่านั้นกันเลย

4. Major Scale และ Mode
Major Scale เป็นสเกลพื้นฐานที่สำคัญและเป็นแม่แบบของสเกลอื่น ๆ อีกหลายชนิดเช่น ไมเนอร์ เพนตาโทนิค เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่สร้างมาจากสเกลเมเจอร์
สเกลเมเจอร์เกิดจากการเลียนการออกเสียงตามธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นจะเห็นว่าการไล่เสียงในสเกลเมเจอร์จะเป็นธรรมชาติมากในความรู้สึกเวลาเราออกเสียง มีลักษณะเสียงที่ชัดเจน มั่นคง แต่มีความสดใส เบิกบานแฝงอยู่ จึงถือว่าเป็นสเกลพื้นฐานของดนตรี ต่อมาเรามารู้จักโครงสร้างของสเกลเมเจอร์กันเลยนะครับ
ผมจะใช้ C เมเจอร์สเกลในการอธิบายนะครับ โดยการไล่เป็น Diatonic scale คือเริ่มที่ C และจบที่ C ในอีก octave หนึ่งการไล่เสียงของ C ลองมาดูโครงสร้างของ C เมเจอร์สเกลดู


ดังนั้นจะสรุปง่าย ๆ ได้ดังตารางนี้
ลำดับขั้นของโน๊ตในสเกลชื่อของแต่ละลำดับขั้นความห่างของเสียงขั้นคู่เสียง(Interval)1stTonic-ขั้นคู่ 1 (enharmonic)2ndSupertonic1 เสียงขั้นคู่ 23rdMediant1 เสียงขั้นคู่ 34thSubdominant1/2 เสียงขั้นคู่ 45thDominant1 เสียงขั้นคู่ 56thSubmediant1 เสียงขั้นคู่ 67thLeading Note1 เสียงขั้นคู่ 78thTonic1/2 เสียงขั้นคู่ 8 (octave) ซึ่งข้อควรสังเกตที่สำคัญที่สุดคือระยะห่างระหว่างเสียงของโน๊ตคู่ระหว่างตัวที่ 3 กับ 4 และคู่ระหว่างตัวที่ 7 กับ 8 มีค่าเป็นครึ่งเสียง ในขณะที่คู่อื่น ๆ จะเต็มเสียงทั้งหมด และนี่คือโครงสร้างหลักของสเกลเมเจอร์ คราวนี้ถ้าเป็นสเกลอื่น ๆ บ้างล่ะ เราลองมาดู สเกล D เมเจอร์ดูบ้าง ซึ่งโน๊ตราก(root) หรือ Tonic จะต้องเป็น D แล้วจะเป็นอย่างไรเราลองมาจัดสเกลดูโดยเลียนแบบ C เมเจอร์ดูนะครับ จะได้ว่า
ลำดับที่12345678โน๊ตDEFGABCDระยะห่างของเสียง1 เสียง1/2 เสียง1 เสียง1 เสียง1 เสียง1/2 เสียง1 เสียง แต่จากหลักของเมเจอร์สเกลคือระยะห่างของเสียงระหว่างโน๊ตตัวที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 ต้องมีค่าเป็น 1/2 เสียง ในขณะที่คู่อื่น ๆ มีระยะห่างเป็น 1 เสียง แต่จากตารางข้างบนจะเห็นว่าระยะห่างครึ่งเสียงไปอยู่ระหว่างโน๊ตคู่ที่ 2 กับ 3 และ 6 กับ 7 ซึ่งไม่ตรงกับข้อกำหนดของสเกลเมเจอร์
คราวนี้เราจะทำยังไงให้โน๊ตดังกล่าวเรียงกันตามหลักของสเกลเมเจอร์ ซึ่งเราจะต้องบังคับให้โน๊ตตัวที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 มีระยะห่าง 1/2 เสียง คุณลองย้อนไปถึงเรื่องของ Accidental คือเครื่องหมายชาร์ป, แฟล็ท และ เนเจอรัล ซึ่งสามารถลดหรือเพิ่มเสียงให้สูงขึ้หรือต่ำลงได้
เอาล่ะครับคราวนี้เรามาดูว่าเราจะทำยังไงดีให้ได้สเกล D เมเจอร์ที่ถูกต้องโดยอาศัยเครื่องหมาย ชาร์ปและแฟล็ท
1. ลองใส่เครื่องหมายชาร์ป;# ที่โน๊ตตัวที่ 3 คือ F เราจะได้ F# และมีผลให้โน๊ตตัวที่ 2 (E) และตัวที่ 3 (F#) ห่างกัน 1 เสียงเต็ม และโน๊ตตัวที่ 3 (F#) และ 4 (G) ห่างกัน 1/2 เสียง ซึ่งเป็นไปตามกฎของของสเกลเมเจอร์
2. ต่อไปลองใส่เครื่องหมายชาร์ป;# ที่โน๊ตตัวที่ 7 คือ C เราจะได้ C# และมีผลให้โน๊ตตัวที่ 6 (B) และตัวที่ 7 (C#) ห่างกัน 1 เสียงเต็ม และโน๊ตตัวที่ 7 (C#) และ 8 (D) ห่างกัน 1/2 เสียง ซึ่งเป็นไปตามกฎของของสเกลเมเจอร์
3. ตรวจสอบระยะห่างโน๊ตแต่ละตัวนั้นเป็นไปตามกฎของของสเกลเมเจอร์แล้วดังนั้นเราจะได้ D เมเจอร์สเกลคือ
ลำดับที่123*4567*8โน๊ตDEF#GABC#Dระยะห่างของเสียง1 เสียง1 เสียง1/2 เสียง1 เสียง1 เสียง1 เสียง1/2 เสียง สรุปว่าเราสามารถสร้าง D เมเจอร์สเกลได้โดยการเรียงโน๊ตเริ่มจาก D เป็นตัวแรกและจบที่ D โดยที่มีการบังคับตัวโน๊ตด้วยเครื่องหมาย # 2 ตัวคือโน๊ตตัวที่ 3 (F#) และตัวที่ 7 (C#) จึงทำให้เป็นไปตามฎของของสเกลเมเจอร์ และการบังคับนี้เป็นการบังคับถาวร ดังนั้นในการเขียนสเกลบนบรรทัด 5 เส้นจึงเขียนเครื่องหมาย # บนเส้นที่ 5 บังคับให้โน๊ตบนเส้นที่ 5 ซึ่งมีเสียง F กลายเป็น F# ทั้งหมด เช่นเดียวกับการกำหนด # ที่ช่องที่ 3 ของบรรทัด 5 เส้น ซึ่งมีเสียง C ให้กลายเป็น C# ทั้งหมด ดังนั้นเราจะได้ D เมเจอร์สเกลที่สมบูรณ์ดังนี้

ต่อไปลองมาดู F เมเจอร์สเกลดูบ้างนะครับ ด้วยวิธีเดียวกับการสร้างสเกล D เมเจอร์ เรามาเรียงโน๊ตในสเกลก่อนได้ว่า
ลำดับที่12345678โน๊ตFGABCDEFระยะห่างของเสียง1 เสียง1 เสียง1 เสียง1/2 เสียง1 เสียง1 เสียง1/2 เสียง แต่จากหลักของเมเจอร์สเกลคือระยะห่างของเสียงระหว่างโน๊ตตัวที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 ต้องมีค่าเป็น 1/2 เสียง ในขณะที่คู่อื่น ๆ มีระยะห่างเป็น 1 เสียง แต่จากตารางข้างบนจะเห็นว่าระยะห่างครึ่งเสียงไปอยู่ระหว่างโน๊ตคู่ที่ 4 กับ 5 และ 7 กับ 8 ซึ่งคู่แรกไม่ตรงกับข้อกำหนดของสเกลเมเจอร์ แต่คู่หลังใช้ได้แล้ว
ต่อไปเรามาดูที่โน๊ตตัวที่ 4 (B) ถ้าเราลดมันลงมา 1/2 เสียงได้จะทำให้มันห่างจากโน๊ตตัวที่ 3 (A) 1/2 เสียงและห่างจากโน๊ตตัวที่ 5 (C) เท่ากับ 1 เสียงพอดี ดังนั้นเราจึงเลือกให้ติดแฟล็ทที่โน๊ตตัวที่ 4 หรือ B จากนั้นเราลองเขียนใหม่ได้
ลำดับที่1234*5678โน๊ตFGABbCDEFระยะห่างของเสียง1 เสียง1 เสียง1/2 เสียง1 เสียง1 เสียง1 เสียง1/2 เสียง ลองตรวจสอบระยะห่างของโน๊ตแต่ละตัว ซึ่งก็ตรงตามกำหนดของเมเจอร์สเกลแล้ว ดังนั้นเราจะพบว่าในการไล่สเกล F เมเจอร์จะต้องติดแฟล็ทที่โน๊ต B เสมอ จากนั้นเราลองมาเขียนบนบรรทัด 5 เส้นได้ว่า

ด้วยหลักการเดียวกันนี้คุณสามารถสร้างสเกลอื่น ๆ ได้ทั้งทางชาร์ป (#) และทางแฟล็ท (b) แต่ผมจะไม่แสดงให้ดูทั้งหมดนะครับ คงจะสรุปให้ดูก็พอเพราะหลักการเดียวกันหมด สรุปเรื่องของการตั้งสเกลหรือบันไดเสียงนอกเหนือจาก C เมเจอร์สเกลซึ่งไม่ต้องมีการบังคับด้วยชาร์ปหรือแฟล็ทจะแบ่งเป็น 2 พวกคือ
1. การตั้งสเกลทางชาร์ป ; # ที่นิยมใช้กันจะมี 7 สเกลดังนี้
จำนวนชาร์ป ; #ชื่อสเกลKey Signatureโน๊ตที่ติดชาร์ป1 ชาร์ปG เมเจอร์สเกล
F2 ชาร์ปD เมเจอร์สเกล
F, C3 ชาร์ปA เมเจอร์สเกล
F, C, G4 ชาร์ปE เมเจอร์สเกล
F, C, G, D5 ชาร์ปB เมเจอร์สเกล
F, C, G, D, A6 ชาร์ปF# เมเจอร์สเกล
F, C, G, D, A, E7 ชาร์ปC# เมเจอร์สเกล
F, C, G, D, A, E, B 2. การตั้งสเกลทางแฟล็ท ; b ที่นิยมใช้กันจะมี 6 สเกลดังนี้
จำนวนแฟล็ท ; bชื่อสเกลKey Signatureโน๊ตที่ติดแฟล็ท1 แฟล็ทF เมเจอร์สเกล
B2 แฟล็ทBb เมเจอร์สเกล
B, E3 แฟล็ทEb เมเจอร์สเกล
B, E, A4 แฟล็ทAb เมเจอร์สเกล
B, E, A, D5 แฟล็ทDb เมเจอร์สเกล
B, E, A, D, G6 แฟล็ทGb เมเจอร์สเกล
B, E, A, D, G, C7 แฟล็ทCb เมเจอร์สเกล
B, E, A, D, G, C, Fข้อสังเกต : การตั้งสเกลเมเจอร์ มีทั้งหมด 12 key
1. C เมเจอร์สเกล เป็นสเกลมาตรฐานซึ่งไม่ต้องใช้ # หรือ b กำหนดใน Key Signature เป็นสเกลที่กำหนดมาเพื่อเป็นมาตรฐานในการไล่เสียง
2. Key C# ตั้งสเกลทาง # และ Db ตั้งสเกลทาง b แต่เป็น key ที่เป็นเสียงเดียวกัน
3. Key D เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
4. Key Eb ตั้งสเกลทาง b เท่านั้น ส่วน Key D# ตั้งสเกลทาง # ไม่ได้
5. Key E เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
6. Key F เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง b เท่านั้น
7. Key F# และ Gb ตั้งสเกลทาง # หรือ b ก็ได้ แต่เป็นเสียงเดียวกัน
8. Key G เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
9. Key Ab ตั้งสเกลทาง b เท่านั้น ส่วน Key G# ตั้งสเกลทาง # ไม่ได้
10. Key A เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
11. Key Bb ตั้งสเกลทาง b เท่านั้น ส่วน Key A# ตั้งสเกลทาง # ไม่ได้
12. Key B เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
ต่อไปผมจะได้กล่าวถึง Mode ต่าง ๆ ในสเกลเมเจอร์ จากในหัวข้อเรื่อง Mode คุณได้รู้ถึง Mode ต่าง ๆ ของสเกล C เมเจอร์แล้ว ซึ่งใช้โน๊ตชุดเดียวกันทั้งหมดแต่จัดเรียงต่างกัน ต่อไปเรามาดูที่ D dorian mode หรือ mode ที่ 2 ของสเกล C เมเจอร์ ลองมาเทียบกับ D เมเจอร์สเกลดู
สำหรับ D dorian mode จะมีการไล่สเกลดังนี้
ลำดับที่12345678โน๊ตDEFGABCDระยะห่างของเสียง1 เสียง1/2 เสียง1 เสียง1 เสียง1 เสียง1/2 เสียง1 เสียงและสำหรับ D major จะมีการไล่สเกลดังนี้
ลำดับที่12345678โน๊ตDEF#GABC#Dระยะห่างของเสียง1 เสียง1 เสียง1/2 เสียง1 เสียง1 เสียง1 เสียง1/2 เสียง เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างสเกลและโหมดแล้ว จะเห็นว่าเพื่อที่จะแปลงจากสเกล D major ไปเป็น D dorian mode นั้นคุณจะต้องลดเสียงของโน๊ตตัวที่ 3 (F#) และโน๊ตตัวที่ 7 (C#) ของ D major สเกลลง 1/2 เสียง ทำให้โน๊ตตัวที่ 3 เป็น F และตัวที่ 7 เป็น C ซึ่งจะตรงกับ D dorian mode ดังนั้นเราจะเห็นว่าสามารถแปลงจาก major สเกลเป็น dorian mode โดยการติดแฟล็ทที่โน๊ตตัวที่ 3 และ 7 ของเมเจอร์สเกลนั่นเองจึงสรุปเป็นสูตรได้ว่า
dorian mode : 1 2 b3 4 5 6 b7 8 เมื่อเทียบกับเมเจอร์สเกล เช่น A dorian mode จะประกอบด้วย
โน๊ตลำดับที่12345678A mojor scaleABC#DEF#G#Aสูตรแปลง12b3456b78A dorian modeABCDEF#GA และด้วยหลักการเดียวกันนี้คุณจะสามารถหาโหมดอื่น ๆ ของสเกลได้เช่นกัน ดังนั้นจึงสามารถสรุปสูตรของโหมดแต่ละโหมดได้ดังนี้
Modeชื่อ Modeสูตรแปลงจาก Major สเกลMode 1Ionian (major scale)1 2 3 4 5 6 7 8Mode 2Dorian1 2 b3 4 5 6 b7 8Mode 3Phrygian1 b2 b3 4 5 b6 b7 8Mode 4Lydian1 2 3 #4 5 6 7 8Mode 5Mixolydian1 2 3 4 5 6 b7 8Mode 6Aeolian (natural minor)1 2 b3 4 5 b6 b7 8Mode 7Locrian1 b2 b3 4 b5 b6 b7 8 ต่อไปเรามาดู mode ต่าง ๆ ของ C นะครับโดยอาศัยสูตรแปลงจากตารางข้างบนนี้
Mode ต่าง ๆ ของ CNotation & TablatureC Ionian Mode (หรือ C Major Scale)
C Dorian Mode (หรือ Bb เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 2)
C Phrygian Mode (หรือ Ab เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 3)
C Lydian Mode (หรือ G เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 4)
C Mixolydian Mode (หรือ F เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 5)
C Aeolian Mode (หรือ Eb เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 6)
C Locrian Mode (หรือ Db เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 7)
ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่อง major scale และ mode ต่าง ๆ ของ major scale ซึ่งคงทำให้เพื่อน ๆ รู้จักกับมันมากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วในเรื่องของ mode นั้นอาจจะไกลตัวไปนิดนึงสำหรับในการเล่นกีตาร์แบบเพื่อสนุกสนาน ไม่ได้เล่นอาชีพหรือแต่งเพลง อย่างไรก็ตามก็ไม่เสียหายที่จะรู้เอาไว้บ้างเผื่อในอนาคตเราอาจจะต้องการศึกษาสูงขึ้นหรือ อยากลองแต่งเพลงเองดูก็อาจจะได้นำเจ้าวัตถุดิบต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ก็ได้ ซึ่ง mode แต่ละ mode จะให้สำเนียงที่มีเอกลักษณ์ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่คุณจะนำมาใช้


ฟังยากหน่อยนะงับผมเขียนไว้เพื่อเป็นประโยชน์นะงับยังไงก็สนับสนุนด้วยนะงับ